วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

แบบฝึกหัดครั้งที่ 10


คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

( ผู้สอน – )

ชื่อ-นามสกุล......................................... รหัสประจำตัว..........



1. คอมพิวเตอร์ ( Computer ) คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่า หน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ

2. การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ โดยขนาดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใช้ในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมาก ๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ (PDA)

3. ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ ได้แก่

3.1 ความเป็นอัตโนมัติ ( Self Acting )

3.2 ความเร็ว (Speed)

3.3 ความถูกต้องแม่นยำ (Acuracy)

3.4 ความน่าเชื่อถือ ( Reliability )

3.5 การจัดเก็บข้อมูล (Storage Capabillity)

3.6 ทำงานซ้ำๆได้ ( Repeatability )

3.7 การติดต่อสื่อสาร ( Communication )

4. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

4.1 ฮาร์ดแวร์หรือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์

4.1.1 หน่วยรับข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์,เม้าส์,สแกนเนอร์,เครื่องอ่านข้อมูล

4.1.2 หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู

4.1.3 หน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ,เครื่องพิมพ์,ไมโครฟิล์ม,พล๊อตเตอร์

4.1.4 หน่วยความจำ

4.1.4.1 หน่วยความจำหลัก เช่น ฮาร์ดดิสก์,ดิสเก็ตต์,จานแสง

4.1.4.2 หน่วยความจำรอง เช่น แรม ( RAM : Read Only Memory ),รอม ( Rom : Random Access Memory )

4.2 ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม

4.2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ เช่น วินโดว์เอ็กซ์พี,ยูนิกซ์,ลีนุกซ์,แมคอินทอช

4.2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น โปรแกรมสำหรับงานออฟฟิชทั่วไป,โปรแกรมดูภาพ,ดูหนัง,ฟังเพลง

4.3 พีเพิลแวร์หรือบุคลากรทางคอมพิวเตอร์

4.4 ข้อมูล

4.5 ระเบียบปฏิบัติและคู่มือ

5. ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

5.1 Lan ( Local Area Network ) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายในพื้นที่เดียวกัน หรือพื้นที่ใกล้เคียงมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายในสำนักงาน อาคาร หรือบ้านพักอาศัยหลังเดียวกัน เครือข่าย LAN จึงเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก แต่ก็เป็นเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

5.2 Man ( Metropolitan Area Network ) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่

ซึ่งเกิดจากการนำเอาเครือข่าย LAN ตั้งแต่ 2 เครือข่ายมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่าย LAN ระหว่างอาคาร หรือเมือง มาเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเดียวกัน เป็นต้น

5.3 Wan ( Wide Area Network ) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุด โดยนำเอาเครือข่าย LAN และเครือข่าย MAN ที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ หรือในระดับจังหวัดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เช่น เครือข่ายดาวเทียม หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

6. โดยหลักการแล้ว การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษาอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน

7. ในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทางการบริหารการศึกษานั้น อาจจะแบ่งข้อมูลออกเป็น ๕ ด้าน

7.1 ข้อมูลด้านการศึกษา เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของนักศึกษาว่า เกิดเมื่อใด ที่ไหน ชื่อบิดามารดา อาชีพบิดามารดา เคยเรียนมาจากที่ไหนบ้าง เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งเป็นประวัติการศึกษาในระหว่างศึกษาอยู่ ณ สถาบันนั้น ๆ ว่าเคยลงทะเบียนเรียนวิชาอะไร ผลการศึกษาเป็นอย่างไรในแต่ละภาคการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลดังกล่าวครบถ้วน ส่วนใหญ่เขาจะนิยมใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานลงทะเบียน

7.2 ข้อมูลด้านแผนการเรียน เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับวิชาที่เปิดสอนว่าแต่ละวิชามีรหัสชื่อวิชา หน่วยกิต เวลาเรียนและสอนที่ไหน และวิธีสอนเป็นบรรยายหรือปฏิบัติ เป็นต้น

7.3 ข้อมูลด้านบุคลากร เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับครูผู้สอนว่ามีวุฒิอะไร มาจากที่ไหน เพศหญิงหรือเพศชาย สอนวิชาอะไรบ้าง กำลังวิจัยหรือเขียนตำราเรื่องอะไร และเงินเดือนเท่าใด เป็นต้น

7.4 ข้อมูลด้านการเงิน เป็นข้อมูลที่สถานการศึกษานั้นได้รับเงินจากอะไรบ้าง ได้ใช้เงินเหล่านั้นแต่ละเดือนเท่าไร ใช้ซื้ออะไรบ้าง และยังเหลือเงินอยู่เป็นจำนวนเท่าใด เป็นต้น

7.5 ข้อมูลด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์ เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับอาคาร ห้องแต่ละห้องเป็นห้อง ปฏิบัติการหรือห้องบรรยาย ห้องพักนักศึกษา ห้องทำงาน ความจุของแต่ละห้อง มีโต๊ะและเก้าอี้กี่ตัว ขนาดห้องกว้างและยาวเท่าใด และในแต่ละห้องมีอุปกรณ์เครื่องมืออะไรบ้าง เป็นต้น



8. องค์ประกอบของการโทรคมนาคม

8.1 สารสนเทศ ที่สามารถรับ-ส่งทางโทรคมนาคม ได้แก่ เสียง อักขระ และภาพ ทั้งที่แยกกันและรวมกัน

8.2 เครื่องส่ง ทำหน้าที่เปลี่ยนรูปสารสนเทศที่จะส่งให้อยู่ในรูปที่เหมาะสม สำหรับส่งไปโดย

สื่อในระบบแม่เหล็กไฟฟ้าระบบใดระบบหนึ่ง ตามปกติสารสนเทศจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้าก่อน หลังจากนั้น จึงทำการส่งสารสนเทศนี้ด้วยคลื่นวิทยุ กระแสไฟฟ้า หรือแสง ต่อไป

8.3 สื่อในระบบแม่เหล็กไฟฟ้า ทำหน้าที่นำสารสนเทศจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับ สื่อทางโทรคมนาคมที่ใช้งานในปัจจุบันมี 3 ชนิด

8.3.1 คลื่นวิทยุ เป็นสื่อที่สามารถเดินทางไปในอากาศและอวกาศได้ด้วยความเร็วเท่ากับแสง แพร่กระจายทุกทิศทาง เหมาะกับงานสื่อสารแบบเคลื่อนที่และการสื่อสารสำหรับผู้รับหลายคนพร้อมกัน

8.3.2 สายตัวนำโลหะ เป็นสื่อที่ทำจากทองแดง ใช้กระแสไฟฟ้าเป็นตัวนำสารสนเทศไปในสาย เฉพาะผู้ส่งและผู้รับที่มีสายเชื่อมโยงกันเท่านั้นจึงจะสื่อสารกันได้

8.3.3 ใยแก้วนำแสง เป็นสื่อที่ทำจากแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูง ขนาดเล็กมาก ใช้แสงเลเซอร์ที่วิ่งไปในเส้นใยแก้วเป็นตัวนำสารสนเทศไป เฉพาะผู้ส่งและผู้รับที่มีสายเชื่อมโยงกันเท่านั้นจึงจะสื่อสารกันได้ มีราคาแพง แต่สามารถนำสารสนเทศปริมาณมาก ๆ รับส่งไปพร้อมกัน

8.4 เครื่องรับ ทำหน้าที่เปลี่ยนรูปสารสนเทศที่รับมาจากสื่อ ให้กลับไปเป็นลักษณะเดิมเหมือนเมื่อตอนรับเข้ามาในระบบโดยเครื่องส่ง



9. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( Internet ) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะขนาดใหญ่ ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยมีโปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล

10. บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

10.1 บริการด้านการสื่อสาร

10.1.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( e-mail )

10.1.2 สนทนาโต้ตอบทันที ( Chat )

10.1.3 กลุ่มข่าว ( Newsgroup หรือ Usenet )

10.1.4 บริการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ( Telnet )

10.2 บริการด้านสารสนเทศ

10.2.1 บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล ( ftp )

10.2.2 เวิลด์ไวด์เว็บ ( www )

11. เวิลด์ไวด์เว็บ คือ เครือข่ายของ เอกสารไฮเปอร์เท็กชทจำนวนมาก ที่จัดเก็บอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์บริการเว็บ ( Web Server ) ตามแหล่งต่างๆ ทั่วโลก และเชื่อมโยงถึงกันในลักษณะใยแมงมุม

12. อินทราเน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร ที่นำเอามาตรฐานการสื่อสารข้อมูลที่ใช้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ ซึ่งบุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าถึงได้

13. องค์ประกอบของเครือข่ายอินทราเน็ต

13.1 เครือข่าย แลนด์ (LAN)

13.2 เครื่องบริการอินทราเน็ต

13.3 เครื่องบริการอื่น ๆ เช่น เครื่องบริการฐานข้อมูล เครื่องบริการอีเมล์ ( E- Mail) ฯลฯ

13.4 ไฟร์วอลล์ ( Firewall ) – เป็นระบบที่เอาไว้ป้องกันอันตรายจากอินเทอร์เน็ต หรือเน็ตเวิร์กภายนอก โดยทำหน้าที่ในการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเน็ตเวิร์กภายนอก หรือเน็ตเวิร์กที่เราคิดว่าไม่ปลอดภัยกับเน็ตเวิร์กภายใน

14. เอ็กซ์ทราเน็ต คือ ส่วนของเครือข่ายอินทราเน็ตที่สามารถเข้าถึงได้จากภายนอกผ่านเครือข่ายสาธารณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินทราเน็ต แต่อยู่ในวงจำกัดเฉพาะที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ( การเข้าถึงเครือข่ายอินทราเน็ตจากภายนอก )

15. ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียน การถ่ายทอดความรู้ เป็นระยะเวลานานพอสมควร ตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ จากนั้น ก็มีการสร้างสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่แทนที่เอกสารหนังสือ

ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI ( Computer Aided Instruction )

16. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว และได้ก้าวมาเป็นเครื่องมือสำคัญที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน การฝึกอบรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ โดยการพัฒนา CAI เดิมให้เป็น WBI ( Web Based Instruction ) หรือการเรียนการสอนผ่านบริการเว็บเพจ ส่งผลให้ข้อมูลในรูปแบบ WBI เผยแพร่ได้ รวดเร็ว และกว้างไกล กว่า CAI

17. สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning เป็นรูปแบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก WBI โดยมีจุดเริ่มต้นจากแผนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 จึงมีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยเสริม ดังนั้น

จึงกล่าวได้ว่า e-Learning คือ การนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการด้านเว็บเพจ เข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ และการอบรม



18. การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ E-Learning เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่น ๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย ( e-mail, web-board, chat ) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ ( Learn for all : anyone, anywhere and anytime )

19. องค์ประกอบของ e- learning ที่สำคัญมี 4 ส่วน คือ

19.1 เนื้อหา ( content )

19.2 ระบบบริหารการเรียน หรือ LMS ซึ่งย่อมาจาก e-Learning Management System ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารและการกำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน แล้วนำส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ซึ่งรวมไปถึงขั้นตอนการประเมินผล ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน

19.3 การติดต่อสื่อสาร มีเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อสอบถาม ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับครู-อาจารย์ผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

19.3.1 ประเภทช่วงเวลาเดียวกัน ( synchronous ) ได้แก่ Chat

19.3.2 ประเภทช่วงเวลาต่างกัน ( asynchronous ) ได้แก่ Web-board,E-mail

19.4 การสอบ/วัดผลการเรียน โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระดับใด หรือเรียนวิธีใด ก็ย่อมต้องมีการสอบ/การวัดผลการเรียน เป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ การสอบ/วัดผลการเรียน จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนแบบ e-Learning เป็นการเรียนที่สมบูรณ์



20. ลักษณะสำคัญของ e-Learning ได้ดังนี้

20.1 Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ในลักษณะ Offline ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ต

20.2 Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

20.3 Non-linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ



21. ข้อที่ควรคำนึงถึงของ e-Learning

21.1 ความสำคัญของ e-Learning อยู่ที่ การออกแบบ ดังนั้น แม้ว่าเนื้อหา วิธีการ ที่มีอยู่ จะส่งผ่านระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตาม แต่ถ้ารูปแบบไม่น่าสนใจ ไม่สามารถดึงความสนใจของผู้เรียนไว้ได้ ก็ทำให้ผู้เรียนไม่อยากเรียน ก็จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการศึกษาหาความรู้ การนำ e-Learning ไปใช้ นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้วยังทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายและเสียเวลาอีกด้วย

21.2 การใช้ e-Learning ต้องมีการลงทุนในเรื่อง เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พร้อมด้วยอุปกรณ์มัลติมีเดีย และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ต้องเข้ากันได้ดี และต้องคำนึงถึงการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนผู้สอนอีกด้วย

22. ข้อดีของ e-Learning

22.1 ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านมัลติมีเดียที่ได้รับการออกแบบและผลิตอย่างมีระบบ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการเรียนจากสื่อข้อความเพียงอย่างเดียว

22.2 ช่วยให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบ ความก้าวหน้า พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน ได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา

22.3 ช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถ ควบคุม การเรียนรู้ของตนเองได้ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลใดก่อนหรือหลังก็ได้ ตามพื้นฐานความรู้ ความถนัด และความสนใจของตน ทำให้ได้รับความรู้และมีการจดจำที่ดีขึ้น

22.4 ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับครูผู้สอน และกับเพื่อนด้วยเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย

22.5 เป็นการเรียนที่ผู้เรียนแต่ละคน จะได้รับเนื้อหาของบทเรียน เหมือนเดิม ทุกครั้ง

22.6 ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ รวมทั้งเนื้อหามีความทันสมัย และตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันได้อย่างทันที

22.7 ทำให้เกิดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนในวงกว้างขึ้น เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

23. เทคโนโลยีการสื่อสารความเร็วสูง ( Broadband ) มี 3 องค์ประกอบหลัก คือ ความกว้างของช่องสัญญาณ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล และระบบการส่งผ่านข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ



คุณภาพการให้บริการ แบนด์วิดธ์ ที่รองรับ บริการ

Postage Stamp 56 Kbps โทรศัพท์พื้นฐาน, โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ GPRS

VHS VCD 1.5 Mbps เทคโนโลยี ADSL,เคเบิ้ลโมเด็ม

Broadcast S-VHS 3-4 Mbps เทคโนโลยี ADSL ( full bandwidth )

DVD 6-8 Mbps เทคโนโลยี xDSL ( full bandwidth )



24. เทคโนโลยี 3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 การพัฒนาของ 3G

ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบ ไร้สาย ด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น

อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant ( PDA ) , laptop และ PC

25. E-Learning คือ การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ ของสื่อผสมแบบดิจิทัล ( Digital Multimedia ) ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และ

วีดิทัศน์ มาประกอบเป็นบทเรียน ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

26. การเรียนการสอนแบบ e-Learning ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประกอบด้วย บทเรียนออนไลน์,การบรรยายสด,เทปบันทึกคำบรรยาย,ตำราออนไลน์

27. โปรแกรมเสริมต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานบทเรียน e-Learning ได้แก่ Macromedia Flash Player 8 plugin, Microsoft Windows Mediaplayer 10, Adobe Acrobat Reader7









“ เทคโนโลยีก้าวไกล ศึกษาได้ไม่จำกัด สร้างสรรค์โลกทัศน์ พัฒนาสู่สากล ”

แบบการเขียนโครงงาน

โครงการอบรม......................................................................................


ระหว่างวันที่..............................................................................

..........................................................................................................................................................

๑.ท่านคาดหวังอะไรบ้างในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๒.อะไรที่ได้เกินกว่าความคาดหวัง

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๓.อะไรที่ได้น้อยกว่าความคาดหวัง

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๔.ท่านจะนำสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ไปพัฒนางานอย่างไร

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๕.ถ้าจะมีการจัดกิจกรรมเช่นนี้อีก ท่านมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงส่วนไหนบ้าง

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

เกวียน

เกวียนเป็นเทคโนโลยี
ด้วยภูมิปัญาของชาวบ้านสมัยโบราณที่ได้มีการพัฒนาพาหนะในการบรรทุก พืชผลทางการเกษตร และพาหนะในการเดินทางเกวียนไม่มีลูกปืน
Google